แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ตามช่วงอายุ โดยทีมสหวิทยาการ
(ปรับปรุงล่าสุดครั้งที่ 5 ณ เดือนเมษายน พ.ศ. 2562)
ช่วงอายุ | การดูแลรักษา | ทีมสหวิทยาการ |
---|---|---|
6 สัปดาห์ก่อนการตั้งครรภ์ | • ให้คำปรึกษาเรื่องการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และให้วิตามินโฟลิก (Folic acid)1 | สูติแพทย์และ คลินิกวางแผนครอบครัว |
3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ | • การดูแลระหว่างตั้งครรภ์และการให้วิตามินโฟลิก (Folic acid) ต่อเนื่อง1 | สูติแพทย์ และRNคลินิกฝากครรภ์ |
4-5 เดือนของการตั้งครรภ์ | • ตรวจวินิจฉัย และประเมินทารกในครรภ์ (20 สัปดาห์)1 • การให้คำปรึกษา แนะนำระหว่างการตั้งครรภ์ในกรณีที่พบทารกผิดปกติส่งต่อให้คำปรึกษา ณ ศูนย์ตะวันฉาย | สูติแพทย์/RN/ทีมสหสาขา |
แรกเกิด-3 เดือน | • ลงทะเบียนเด็กแรกเกิดที่มีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าทุกราย และมีระบบการติดตามการรักษา • การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (โอกาสเกิดซ้ำ และการป้องกันการเกิดซ้ำในบุตรคนถัดไป) และประเมินความพิการร่วม • อธิบาย ประเมินสภาวะต่างๆ รวมถึงความพิการร่วมและภาวะกลุ่มอาการ (syndrome) เพื่อให้ทราบเรื่องความรุนแรงของโรค ความพิการร่วม และภาวะกลุ่มอาการ ปัญหาที่สำคัญ เป้าหมายการดูแล และแผนการรักษา • การป้อนนม และการดูแลเรื่องนมแม่ (Breast feeding)2 • การให้คำปรึกษาวางแผนครอบครัว (6 สัปดาห์) – การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันช่วงแรกเกิดก่อนการผ่าตัด (Pre-surgical Orthopedics Therapy)3 • การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการผ่าตัด | RNประสานงานฯ/จนท.ศูนย์ตะวันฉาย กุมารแพทย์/ ศัลยแพทย์/ทีมสหสาขา RNหลังคลอด/คลินิกนมแม่หอผู้ป่วย 2ข คลินิกวางแผนครอบครัว ทันตแพทย์จัดฟันและศัลยแพทย์ RNประสานงานฯ/ห้องตรวจฯ |
3-6 เดือน | • ผ่าตัดซ่อมแซมริมฝีปากแบบปฐมภูมิ Primary Cheiloplasty • ให้คำแนะนำการดูแลก่อน-หลังผ่าตัด4 • การใส่เครื่องมือประคองรูปร่างจมูกหลังการผ่าตัดซ่อมแซมริมฝีปาก (Nasal creator device)5 • ตรวจหูตรวจการได้ยินภายใน 6 เดือนหากพบว่ามีภาวะ OME ให้ตรวจซ้ำทุก 3 เดือน หากไม่มีภาวะ OME ให้ตรวจซ้ำทุก 6 เดือน จนถึงอายุ 7 ปี เมื่อ ET tube function ได้ดี • ประเมินพัฒนาการ ครั้งที่ 1 ถ้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ นัดประเมินซ้ำปีละ 1 ครั้ง ในกรณีพัฒนาการผิดปกติ นัดกระตุ้นพัฒนาการต่อเนื่อง ทุก 3-6 เดือน • พบทันตกรรมสำหรับเด็ก • ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการภาษาและการพูด ครั้งที่ 1 • ประเมินความพร้อมก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกและติดตามภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด 24-48 ชั่วโมง | ศัลยแพทย์ RNหอผู้ป่วย/ประสานงานฯ/ห้องตรวจ ศัลยแพทย์/ทันตแพทย์จัดฟัน แพทย์หู คอ จมูกและนักแก้ไขการได้ยิน จิตแพทย์/นักจิตวิทยาคลินิก/RN ทันตแพทย์สำหรับเด็ก นักแก้ไขการพูด ทีมวิสัญญี |
10-18 เดือน | • ประเมินพัฒนาการของสันเหงือกและกระดูกขากรรไกร ร่วมกับสุขภาพช่องปาก ก่อนผ่าตัดเพดานโหว่ • ผ่าตัดซ่อมแซมเพดานโหว่ทั้งเพดานแข็ง • เพดานอ่อน (Primary palatoplasty) + Myringotomy (ตามความจำเป็น) • ประเมินความพร้อมก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกและติดตาม • ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด 24-48 ชั่วโมง ให้คำแนะนำการดูแลก่อน-หลังผ่าตัด • ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการภาษาและการพูด ครั้งที่ 2 ถ้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ นัดประเมินซ้ำปีละ 1 ครั้ง | ทันตแพทย์จัดฟัน/ทันตแพทย์สำหรับเด็ก ศัลยแพทย์ และแพทย์หู คอ จมูก ทีมวิสัญญี RNหอผู้ป่วย/ประสานงานฯ/ห้องตรวจ นักแก้ไขการพูดและภาษา |
1 ปีครึ่ง-3 ปี | • ประเมินและส่งเสริมพัฒนาภาษาและการพูด ครั้งที่ 3 ถ้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ นัดประเมินซ้ำปีละ 1 ครั้ง • ดูแลสุขภาพฟันและติดตามพัฒนาการของฟันและด้านอื่นๆ (นัดเข้า Cleft clinic) • วัดพัฒนาการครั้งที่ 2 ในกรณีพัฒนาการล่าช้า นัดกระตุ้นพัฒนาการต่อเนื่องทุก 3-6 เดือน • ผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วของเพดานปาก (Oronasal fistula closure) ในรายที่มีความจำเป็น • ตรวจหูแล้วพบว่ามีภาวะ OME ให้ตรวจซ้ำทุก 3 เดือน หากไม่มีภาวะ OME ให้ตรวจซ้ำทุก 6 เดือน จนถึงอายุ 7 ปี เมื่อET tube function ได้ดี | นักแก้ไขการพูด ทันตแพทย์เด็ก และทันตแพทย์จัดฟัน จิตแพทย์/นักจิตวิทยาคลินิก/RN ศัลยแพทย์ แพทย์หู คอ จมูกและนักแก้ไขการได้ยิน |
4-5 ปี | • ประเมินและส่งเสริมพัฒนาภาษาและการพูด ครั้งที่ 4 ถ้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ นัดประเมินซ้ำปีละ 1 ครั้ง • ประเมินการพูดไม่ชัดและความบกพร่องของการทำงานของเพดานอ่อนและผนังคอหอย (Velopharyngeal insufficiency) • วัดพัฒนาการครั้งที่ 3 ในกรณีพัฒนาการล่าช้า นัดกระตุ้นพัฒนาการต่อเนื่องทุก 3-6 เดือน • ตรวจหูแล้วพบว่ามีภาวะ OME ให้ตรวจซ้ำทุก 3 เดือน หากไม่มีภาวะ OME ให้ตรวจซ้ำทุก 6 เดือน จนถึงอายุ 7 ปี เมื่อET tube function ได้ดี • ผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วของเพดานปาก (Oronasal fistula closure) ในรายที่มีความจำเป็น • แก้ไขความบกพร่องแบบทุติยภูมิที่ริมฝีปาก จมูก(ตามความจำเป็น) (Secondary Cleft Lip/Cleft Lip Nose Correction) • ดูแลสุขภาพฟัน ตรวจสภาวะการสบฟันลักษณะโครงสร้างกระดูกขากรรไกรและใบหน้า • การประเมินผลการรักษา 5-Year THAICLEFT outcome | นักแก้ไขการพูด จิตแพทย์/นักจิตวิทยาคลินิก/RN แพทย์หู คอ จมูก และนักแก้ไขการได้ยิน ศัลยแพทย์ ทันตแพทย์ ทีมสหสาขาฯ |
6-12 ปี | • ผ่าตัดแก้ไขปัญหา VPI (Surgical Correction of VPI) (ตามความจำเป็น) • การรักษาด้านการพูดและภาษา • ดูแลปัญหาต่างๆ และสุขภาพทั่วไป • ดูแลติดตามเรื่องสุขภาพช่องปากและฟัน • ผ่าตัดปลูกถ่ายกระดูกที่สันเหงือก (Alveolar bone grafting) ตามความจำเป็นร่วมกับการจัดฟันก่อน-หลังการผ่าตัด • ให้คำแนะนำก่อน-หลังผ่าตัด • ประเมินความผิดปกติของการพูด ความบกพร่องของการทำงานของเพดานอ่อนและผนังคอหอย(Velopharyngeal insufficiency) ก่อนและหลังผ่าตัด ตรวจหู ตรวจการได้ยิน เมื่อมีปัญหา • การประเมินผลการรักษา 10-Year THAICLEFT outcome | ศัลยแพทย์ นักแก้ไขการพูดและสื่อภาษา ทีมสหวิทยาการ ทันตแพทย์เด็ก ทันตแพทย์จัดฟัน และศัลยแพทย์ช่องปากฯ RNทันตกรรมฯและRNประสานงาน Speech& ENT& Audiologist สหสาขา |
13-18 ปี | • ติดตามปัญหาสุขภาพช่องปาก/ฟัน/ลักษณะโครงสร้างกระดูกขากรรไกรและใบหน้า • ติดตาม/ประเมินความบกพร่องด้านการพูดและภาษา • วัด IQ ภายในช่วงอายุ 6-18 ปี | ทันตแพทย์จัดฟันและศัลยแพทย์ช่องปากฯ Speech จิตแพทย์ และนักจิตวิทยา |
16-18 ปี | • ผ่าตัดและใช้เครื่องมือยึดถ่างกระดูกร่วมด้วย (distraction osteogenesis) (ตามความจำเป็น) (ในกรณีที่มีความพิการมากหรือมีความพิการทางศีรษะและใบหน้าอื่นๆร่วมด้วย) • ประเมินความผิดปกติของการพูด ความบกพร่องของการทำงานของเพดานอ่อนและผนังคอหอย(Velopharyngeal insufficiency) ก่อนและหลังผ่าตัด | ศัลยแพทย์ช่องปากฯ และศัลยแพทย์ตกแต่ง Speech |
>18 ปี | • ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของกระดูกและขากรรไกรและใบหน้า (orthognathic surgery) (ตามความจำเป็น) • ผ่าตัดตกแต่งรูปร่างริมฝีปาก และจมูกในขั้นตอนสุดท้ายหรือปัญหาด้านการพูดที่หลงเหลืออยู่ตามความจำเป็น (Correction of cleft lip-cleft lip nose deformities and residual VPI) • ดูแลรักษา ฟื้นฟู จนอวัยวะต่างๆทำงานได้ใกล้เคียงปกติ เกิดความพึงพอใจทั้งผู้ป่วยและครอบครัว • ให้คำปรึกษาเรื่องการทำงาน การเข้าสังคม การมีครอบครัว และการมีบุตรต่อไปในอนาคต • ทบทวน ประเมินผลการรักษา • การประเมินผลการรักษา 19-Year THAICLEFT outcome • ส่งเสริมกิจกรรมด้านสังคม ด้านอาชีพ เพื่อผู้ป่วยที่มีเศรษฐานะยากจนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ | ศัลยแพทย์ช่องปากฯ และศัลยแพทย์ตกแต่ง ทีมสหสาขา |